สำรวจชิ้นส่วนคุณภาพของปั๊มซูรูมิ
ชิ้นส่วนคุณภาพสูงสุดเท่านั้น ที่ปั๊มซูรูมิเลือกใช้
ขั้วสายไฟเข้าปั๊ม (Cable entry)
ปั๊มทุกตัวจะมีการหล่อขั้วสายไฟบริเวณที่ต้องต่อกับมอเตอร์ เพื่อป้องกันไม่ให้สายไฟภายในบิดและพันกันจนเป็นเกลียวเหมือนเชือกหรือไส้ตะเกียง ทำให้ไม่เกิดการช๊อตกันระหว่างานไฟหรือขั้วสายไฟภายในมอเตอร์ และเป็นการป้องกันน้ำเข้าสู่มอเตอร์ได้ดีกว่าระบบอื่นๆ
มอเตอร์ (Motor)
เป็นมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบกรงกระรอกชนิดแห้ง (Squirrel cage induction motor, dry type) ติดตั้งอยู่ในภายในเปลือกมอเตอร์ ซึ่งออกแบบให้สามารถป้องกันน้ำเข้าและมีระบบการระบายควานร้อนที่ดี เส้นลวดทองแดงที่ใช้ในการพันคอยล์มอเตอร์มีการเคลือบฉนวนระดับ B,E และ F (ขึ้นกับรุ่นของปั๊ม) สามารถทนอุณหภูมิของน้ำที่สูบได้สูงถึง 40 องศาเซลเซียส
ซีลกันรั่วเชิงกล (Mechanical seal)
ปั๊มของซูรูมิทุกตัวจะใช้ซีลกันรั่วเชิงกลจำนว 2 คู่ ทำจากซิลิกอนคาร์ไบด์ (Silicon carbide mechanical seal) ติดตั้งทุกชิ้นส่วนขงซีลกันรั่วเชิงกลยู่ในห้องน้ำมัน( Oil chamber) ของปั๊มเท่านั้น และมีน้ำมันหล่อลื่นหน้าสัมผัสของซีลกันรั่วตลอดเวลา โดยปราศจากตะกอนเล็กๆ ที่อยู่ในน้ำเสียปะปนเมาในห้องน้ำมัน ทำให้ซีลกันรั่วเชิงกลเกิดจากสึกหรอน้อยมาก และมีอายุการใช้งานยาวนาน ต่างจากระบบที่มีการใช้ซีลกันรั่วเชิงกลบางส่วนหรือคู่ล่างติดตั้งอยู่เรือนสูบ ซึ่งต้องใช้น้ำที่สูบในการหล่อลื่น ทำให้อายุการใช้งานของซีลกันรั่วสั้นลงและไม่สามารถให้ปั๊มทำงานโดยไม่มีน้ำ เนื่องจากซีลกันรั่วเชิงกลจะเกิดการไหม้เสียหายเนื่องจากขาดน้ำในการหล่อลื่นซีล
ตัวยกน้ำมัน (Oil Lifter)
ปั๊มซูรูมิได้นำพลังงานของเพลามอเตอร์ที่หมุนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ด้วยการติดตั้งตัวยกน้ำมัน (Oil Lifter) คู่กับซีลกันรั่วเชิงกล (Mechanical seal) ในห้องน้ำมันของปั๊ม ทำให้น้ำมันสามารถหล่อลื่นซีลกันรั่วเชิงกลคู่บนได้อย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ ช่วยยืดอายุการใช้งานของซีลกันรั่วเชิงกลได้มากกว่า 50% เพิ่มระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันออกไป 1 เท่าตัว ใช้น้ำมันในการหล่อลื่นลดลง ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการซ่อมบำรุง
ระบบป้องกันมอเตอร์เสียหาย (Motor Protector)
มีการติดตั้งระบบป้องกันมอเตอร์เสียหายไว้ 2 แบบ คือ
- แบบ Circle themal protector,CTP ใช้ป้องกันในกรณีที่มอเตอร์มีกระแสเกินกว่าปกติ โดยเมื่อมอเตอร์มีภาระเกินกำลังปกติจะทำให้แผ่นไบเมททอลใน CTP ร้อนและดีดตัวทำให้มอเตอร์หยุดทำงาน เมื่อแผ่นใบเมททอลเย็นลงมอเตอร์ก็จะกลับมาทำงานเช่นเดิม ทำให้ไม่ต้องมีวงจรป้องกันในตู้ควบคุมไฟฟ้า ระบบ CTP จะใช้กับมอเตอร์ขนาดเล็ก มอเตอร์ไม่เกิน 7.5 กิโลวัตต์
- แบบ Miniature thermal protector,MTP ใช้ป้องกันในกรณีที่มอเตอร์อุณหภูมิสูงกว่าปกติ ซึ่งจะมี MTP ติดตั้งฝังไว้ที่คอยล์มอเตอร์ จำนวน 3 ชุดต่ออนุกรมกัน (กรณีไฟฟ้า 3 เฟส) เมื่อมอเตอร์มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติหน้าสัมผัสในไบเมททอลอง MTP จะเปิดและส่งสัญญาณไปที่ตู้ควบคุมไฟฟ้าหยุดการทำงานของมอเตอร์ และเมื่อมอเตอร์มีอุณหภูมิลดลงลงหน้าสัมผัสในไบเมททอลของ MTP จะปิดและส่งสัญญาณไปที่ตู้ควบคุมไฟฟ้าให้มอเตอร์ทำงานอีกซึ่งตู้ควบคุมไฟฟ้าต้องมีการออกแบบวงจรดังกล่าวไว้ ติดตั้งกับมอเตอร์ขนาด 11 กิโลวัตต์และมากกว่า
เพลา (Shaft)
เพลาทำจากสแตนเลสทนต่อแรงต้านทานแรงดึงสูง ขนาดของเพลาออกแบบให้สามารถรองรับความแข็งแรงได้ในขณะที่มอเตอร์ต้องใช้กำลังสูงสุด ตัวเพลาถูกรองรับด้วยตลับลูกปืนเม็ดกลมร่องลึกแบบช่องว่างภายในระหว่างลูกปืนกับร่างวิ่งใหญ่กว่าพิกัดมาตรฐาน (Deepgroove ball baering type C3) ซึ่งจะทำให้รองรับแรงจากเพลามอเตอร์ได้สูงสุด
ตัวตรวจจับการรั่ว (Leakage sensor)
มีการติดตั้งตัวตรวจจับการรั่ว (Leakage sensor) ของน้ำเข้ามอเตอร์ทำจากสแตนเลส เป็นมาตรฐานสำหรับปั๊มที่มีขนาด 22 กิโลวัตต์หรือมากกว่า
- Submersible Automatic Pump – เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มน้ำ อัตโนมัติ
(A, AW, BA, CA, CW, PMUA, UA, UW, PNA, UZA, UZW, PUA, PUW, SQA, TMA, series) เป็นเครื่องสูบน้ำที่ออกแบบให้ทำงานและหยุดโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องมีตู้ควบคุมไฟฟ้าควบคุมการทำงานของเครื่องสูบ ภายในตัวเครื่องสูบจะมีวงจรไฟฟ้าแรงดันต่ำควบคุมการทำงานของเครื่องสูบซึ่งสัมพันธ์กับการทำงานของลูกลอยภายนอกเครื่องสูบและระดับน้ำในบ่อสูบ มีความปลอดภัยสูงด้วยวงจรไฟฟ้าควบคุมแรงดันต่ำและทนทานต่อการใช้งาน เหมาะกับงานสูบน้ำเสียและงานระบายน้ำทั่วไป ที่ต้องการความสะดวกในการใช้งานและประหยัดเวลาในการติดตั้ง มีให้เลือกตั้งแต่ 0.25 – 3.7 กิโลวัตต์ (0.3 – 5 แรงม้า) ขนาดท่อตั้งแต่ 40 – 100 มิลลิเมตร และมีใบพัดหลายให้เลือกใช้ ให้เหมาะสมกับการสูบน้ำประเภทต่างๆ
- Submersible Non – clog (Channel) Pump – เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มน้ำ ใบพัดไม่อุดตัน
(B, BZ, SF, series)
เป็นเครื่องสูบน้ำที่ออกแบบให้ใบพัดเครื่องสูบน้ำมีช่องเปิด เพื่อให้ขยะในน้ำเสียสามารถลอดผ่านใบพัดไปได้ โดยไม่เกิดการอุดตันที่บริเวณใบพัดและทางเข้า เหมาะกับงานสูบน้ำเสียและงานระบายน้ำทั่วไปทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เช่น งานระบบบำบัดน้ำเสียของอาคาร ระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ขนาดใหญ่ ฯลฯ มีให้เลือกตั้งแต่ 0.4 – 110 กิโลวัตต์ (0.5 – 145 แรงม้า) ขนาดท่อตั้งแต่ 50 – 100 มิลลิเมตร
- Submersible Cutter Mechanism Pump – เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มน้ำ ใบพัดตัดขยะ
(C series)
เป็นเครื่องสูบน้ำที่ออกแบบให้ใบพัดเครื่องสูบสามารถตัดขยะได้ โดยปลายใบพัดจะติดตั้งใบพัดที่ทำจากถังสแตนคาร์ไบด์ที่มีความแข็งเป็นพิเศษและบริเวณทางเข้าเครื่องสูบจะออกแบบให้เป็นร่องฟันเลื่อย เพื่อให้ตัดขยะประเภทเส้นใยที่มีอยู่ในน้ำเสียไม่ให้เกิดการอุดตันที่เครื่องสูบ ท่อส่งน้ำและวาล์ว เหมาะกับการใช้งานในน้ำเสียที่มีเส้นใยและขยะเป็นจำนวนมาก เช่น น้ำเสียจากบ่อเกรอะ น้ำทิ้งจากครัว และงานน้ำเสียอุสาหกรรมทั่วไป มีให้เลือกตั้งแต่ 0.75 – 15 กิโลวัตต์ ( 1- 20 แรงม้า) ขนาดท่อตั้งแต่ 50 – 100 มิลลิเมตร
- Submersible Vortex Pump – เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มน้ำ ใบพัดน้ำวน
(U, UZ, PMU, PN, PU, TM, series)
เป็นเครื่องสูบน้ำที่มีใบพัดเป็นแบบ Vortex ใบพัดของเครื่องสูบน้ำจะทำให้น้ำในตัวเรือนเครื่องสูบเกิดน้ำวนและสร้างความดันสูงขึ้นเพื่อให้ส่งน้ำออกไปโดยใบพัดไม่ได้สร้างแรงดันน้ำโดยตรง ทำให้ขยะที่ติดมากับน้ำเสียสามารถส่งผ่านออกไปจากเรือนสูบได้โดยไม่ต้องสัมผัสกับใบพัดโดยตรง มีประโยชน์ในการป้องกันการอุดตันของขยะบริเวณใบพัดและตัวเรือน และยังทำให้ของแข็งในน้ำเสียถูกพาออกไปได้ จึงเหมาะกับการใช้งานในน้ำเสียที่มีขยะที่ไม่สามารถตัดได้ แต่ต้องมีส่วนที่ยาวที่สุดไม่เกินขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ ขยะจึงจะสามารถผ่านพัดและเรือนสูบ มีให้เลือกตั้งแต่ 0.25 – 11 กิโลวัตต์ (0.3 – 15 แรงม้า) ขนาดท่อตั้งแต่ 40 – 100 มิลลิเมตร
- Submersible Grinder Pump – เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มน้ำ ใบพัดแบบบดย่อยขยะ
(MG series)
เป็นเครื่องสูบน้ำที่มีใบพัดเป็นแบบ Vortex ซึ่งทำให้เกิดน้ำวนในเรืองสูบช่วยให้ไม่เกิดการอุดตันในใบพัดและเรือนสูบ ส่วนบริเวณทางเข้าของน้ำเสียจะออกแบบให้มีกลไกการบดย่อยขยะให้ละเอียด โดยกลไกการบดย่อยทำจากเหล็กโครเมี่ยมสูง ซึ่งจะทนต่อการกัดกร่อนของการสึกหรอ เครื่องสูบชนิดนี้สามารถสามารถบดขยะให้ละเอียดและส่งไปตามเส้นท่อโดยไม่อุดตัน มอเตอร์มีการออกแบบให้มีแรงบิดสูงกว่ามอเตอร์ปกติทั่วไปเพื่อให้มีกำลังในการบดย่อย และสามารให้แรงดันน้ำถึง 30 เมตร เหมาะกับงานที่มีสูบถ่ายน้ำเสียจากบ่อเกรอะไปยังบ่อบำบัด บ่อรวบรวมน้ำเสียของโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้าและโรงงานอุตสาหกรรม มีให้เลือก 3 ขนาด คือ 1.5, 2.2, และ 3.7 กิโลวัตต์
- Submersible Stainless Steel Pump – เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มน้ำ แสตนเลส
(SFQ, SQ, BQ, CQ, series)
เป็นเครื่องสูบน้ำทำจากแสตนเลส โดยทุกชิ้นส่วนของเครื่องสูบน้ำที่สัมผัสกับของเหลวผลิตขึ้นจากวัสดุแสตนเลสทั้งสิ้น ซึ่งทำให้ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี สามารถใช้ในน้ำเสียที่มีกรด ด่างหรือของเหลวที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ ตลอดจนของเหลวต่าง ๆ ทำให้เครื่องสูบน้ำมีความทนทานและอายุการใช้งานยาวนาน มีให้เลือกหลายแบบและหลายประเภท ทั้งแบบที่เป็นใบพัด NON – CLOG , CUTTER และ VORTEX มีขนาดตั้งแต่ 0.4 -11 กิโลวัตต์ (0.5 – 15 แรงม้า) ขนาดท่อตั้งแต่ 40 – 100 มิลลิเมตร
- Submersible Explosion Proof Pump – เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มน้ำ ชนิดป้องกันการระเบิด
(KTX series)
เป็นเครื่องสูบน้ำที่ออกแบบสำหรับการใช้งานในพื้นที่ ๆ มีความเสี่ยงของการระเบิดเนื่องจากไอปิโตรเลียม น้ำมันหรือการทำงานในเหมืองถ่านหิน โรงกลั่นน้ำมัน ปั๊มน้ำมัน ซึ่งได้รับการรับรองการออกแบบและใช้งานจากกระทรวงแรงงานของประเทศญี่ปุ่น ให้สามารถนำไปใช้งานในพื้นที่อันตรายจากไอน้ำและเหมืองแร่ มีให้เลือกตั้งแต่ 0.4 – 11 กิโลวัตต์ (0.5 -15 แรงม้า) ขนาดท่อตั้งแต่ 50 – 100 มิลลิเมตร
- Submersible Seawater Pump – เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มน้ำ ชนิดน้ำทะเล
(TM series)
เป็นเครื่องสูบน้ำที่ออกแบบสำหรับการสูบน้ำทะเล โดยส่วนที่สัมผัสกับน้ำทะเลทำจากวัสดุไททาเนียมและเรซินพลาสติก ซึ่งจะสามารถทนต่อการกัดกร่อนได้ดีกว่าเหล็กไร้สนิมในกรณีที่ต้องใช้งานกับน้ำเค็มหรือน้ำทะเลเหมาะกับการใช้งานในเรือ ท่าเรือ อุตสาหกรรมอาหาร มีให้เลือกตั้งแต่ 0.25 – 0.75 กิโลวัตต์ (0.3 – 1 แรงม้า) ขนาดท่อตั้งแต่ 40 – 50 มิลลิเมตร และมีแบบอัตโนมัติให้เลือกทุกรุ่น
- Submersible High Head Pump -เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มน้ำชนิดแรงดันม้า
(SF Series)
เป็นเครื่องสูบน้ำที่ออกแบบพิเศษ สำหรับการใช้งานที่ต้องการแรงดันน้ำสูง เหมาะกับการที่ต้องส่งน้ำขึ้นที่สูงหรือท่อส่งน้ำมีความยากมาก ใบพัด ตัวเรืองสูบและระบบซีลป้องกันน้ำรั่วเข้าออกแบบเป็นพิเศษให้สามารถทนแรงดันน้ำได้สูงถึง 45 เมตร เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อการใช้งานและประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด มีทั้งหมด 14 รุ่น ตั้งแต่ 0.75 – 11 กิโลวัตต์ (1 – 15 แรงม้า) ขนาดท่อตั้งแต่ 50 – 100 มิลลิเมตร
- Submersible Axial Flow Pump – เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มน้ำ ชนิดไหลตามแกน
(SSP, TRM series)
เป็นเครื่องสูบน้ำที่เน้นการสูบน้ำในปริมาณมาก เหมาะกับงานป้องกันน้ำท่วม การสูบระบายน้ำฝน การสูบน้ำเพื่อการชลประทาน เขื่อน ฯลฯ มีให้เลือกทั้งรุ่นมาตรฐานและออกแบบเป็นพิเศษตามความต้องการเฉพาะงาน ประสิทธิภาพสูงถึง 80 เปอร์เซ็น การติดตั้งสะดวก รวดเร็ว มีให้เลือกใช้งานตั้งแต่ 7.5 – 300 กิโลวัตต์ (10 – 400 แรงม้า) ขนาดท่อตั้งแต่ 400 – 1,500 มิลลิเมตร ความสามารถในการสูบ 250 – 6,000 ลิตร ต่อวินาที
- Submersible Construction Pump – เครื่องสูบน้ำแบบจุ่มน้ำ สำหรับงานก่อสร้าง
(GPN, GSZ-4, GSZ-6, HS, KRS, KTV, KTVE, KTZ, LB, LH, LH-W, LSC, LSP, NK, NKZ series)
เป็นเครื่องสูบน้ำสำหรับการสูบน้ำในงานก่อสร้าง ออกแบบให้สูบน้ำที่มีโคลน ตะกอนดินและทรายในงานก่อสร้างอาคาร ฐานราก งานดิน ฯลฯ มีความปลอดภัยต่อการใช้งาน ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา วัสดุที่นำมาใช้ในการผลิตมีโครงสร้างแข็งแรงทนทานต่อแรงกระแทก มีระบบ OIL LIFTER ช่วยให้น้ำมันหล่อลื่นชุดซีลกันน้ำได้ทั่วถึง เพิ่มช่วงระยะเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง การซ่อมแซมง่าย ถอดทำความสะอาดได้ง่าย รวดเร็ว ระบบซีลกันน้ำสามารถทนต่อแรงดันน้ำสูงถึง 100 เมตร (0.98 Mpa) มีให้เลือกใช้งานมากกว่า 100 รุ่น ขนาดตั้งแต่ 0.4 – 110 กิโลวัตต์ (0.5 – 150 แรงม้า) ขนาดท่อตั้งแต่ 25 – 200 มิลลิเมตร สูบน้ำได้สูงสุดถึง 175 เมตร
- Submersible Aerator &Ejector – เครื่องเติมอากาศแบบจุ่มน้ำ
(TR, TRN, BER, series)
เครื่องเติมอากาศแบบจุ่มน้ำที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานกับระบบบำบัดน้ำเสียโดยตรง สามารถให้ออกซิเจนแก่น้ำเสียพร้อมกับการกวนผสมอย่างทั่วถึงทั้งแนวราบและแนวดิ่งในบ่อเติมอากาศ ใช้ได้ทั้งถังกลมและสี่เหลี่ยมประหยัดเนื้อที่ในการติดตั้ง ไม่จำเป็นต้องมีห้องเก็บเครื่องจักร เสียงไม่รบกวน สามารถเพิ่ม-ลดปริมาณอากาศขนาดฟองอากาศ และระยะในการกวนผสมด้วยวาล์วปรับปริมาณอากาศที่อยู่ด้านบนบ่อ สามารถใช้กับงานน้ำเสียได้ทุกประเภททั้งโรงแรม อาคาร สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภทมให้เลือกมากถึง 27 รุ่น ขนาดตั้งแต่ 0.75 – 22 กิโลวัตต์ (1 – 30 แรงม้า)
- Submersible Blower – เครื่องเป่าอากาศแบบจุ่มน้ำ
(NR series)
เป็นเครื่องเป่าอากาศชนิด 2 โรเตอร์ ให้ปริมาณลมมาก ติดตั้งในน้ำเพื่อลดเสียงรบกวน โดยใช้น้ำในบ่อลดเสียงรบกวนชณะทำงาน สามารถนำไปใช้ในฟาร์มสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการประมงและบ่อบำบัดน้ำเสียทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมีห้องเก็บเครื่องจักร ทำให้ประหยัดพื้นที่และค่าก่อสร้าง มีให้เลือกมากถึง 23 รุ่น ขนาดตั้งแต่ 0.4 – 15 กิโลวัตต์ (0.5 – 22 แรงม้า)
- Bar Screen – เครื่องดักขยะ
(KE, KS-Y, KM, KMA, KS series)
เป็นเครื่องดักยะและสามารถกวาดขยะออกจาการางน้ำพร้อมกัน ทำจากสแตนเลส ซึ่งทนทานต่อการสึกหรอ กัดกร่อนทางเคมี และเศษขยะต่างๆ สามารถติดตั้งขวางรางน้ำเสียได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องมีการก่อสร้างรองรับหรือเตรียมสถานที่ติดตั้ง ใช้ได้กับงานน้ำเสียทั่วไปทั้งจากอาคารและอุตสาหกรรม นอกจานี้สามารถประยุกต์ใช้กับขบวนการผลิตเพื่อเก็บเศษวัสดุเหลือใช้ต่างๆ มีหลายขนาดความห่างของช่องตะแกรง ตั้งแต่ 1, 2, 2.5, 5, 10, 20, 30, 40 และ 50 มิลลิเมตร
- Rotary Blower – เครื่องเป่าอากาศ
(RSR series)
เป็นเครื่องเป่าอากาศแบบ 3 โรเตอร์ ใบพัดของโรเตอร์อยู่ในแนวตรงขนานกับแกนเพลา แต่จะออกแบบให้ทางออกของลมด้านในเสื้อเครื่องของโรเตอร์เอียงทำมุม 30 องศากับแนวแกนโรเตอร์ เพื่อให้ลมที่ออกมามีความสม่ำเสมอทุก ๆ รอบที่โรเตอร์มีการหมุน ลดเสียงดังของโรเตอร์ และทำให้การใช้งานมีความทนทานเพิ่มขึ้น ลมที่ได้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลานประเภท เช่น เตาเผาขยะ ระบบบำบัดน้ำเสีย อุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ฯลฯ มีขนาดท่อลมตั้งแต่ 20 – 300 มิลลิเมตร กำลังขับตั้งแต่ 0.4 – 175 กิโลวัตต์ (0.5 – 230 แรงม้า) และปริมาณลมตั้งแต่ 0.12 – 135 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที
- Submersible Air Mixer – เครื่องกวนผสมอากาศแบบจุ่มน้ำ
(TAR series)
เป็นเครื่องเติมออกซิเจนในน้ำไปเวลาเดียวกัน พัฒนาปรับปรุงมาจากเครื่องสูบน้ำที่ไหลตามแนวแกนสูบ สามารถให้อัตราการถ่ายเทออกซิเจนมากกว่า 5 กิโลกรัมออกซิเจนต่อชั่วโมงต่อกิโลวัตต์ มากกว่าระบบเติมอากาศเดิมที่ใช้งานทั่วไปที่มีอัตราการถ่ายเทออกซิเจนเพียง 1 – 2 กิโลกรัมออกซิเจนต่อชั่วโมงต่อกิโลวัตต์ และยังสามารถให้การกวนผสมได้ถึง 2 แบบในเครื่องเดียวกัน คือในขณะที่เปิดวาล์วให้อากาศเข้าจะเป็นการเติมออกซิเจนและกวนผสมไปพร้อมกัน แต่ขณะปิดวาล์วอากาศจะเกิดการกวนผสมของน้ำในบ่อให้ทั่วถึงกันเท่านั้น ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งบ่อปรับสภาพน้ำเพื่อให้น้ำเสียก่อนเข้าระบบมีความสกปรกใกล้เคียงกัน และยังใช้ในบ่อเติมอากาศทั้งแบบทั่วไปแระบบแอน๊อคซิค (Anoxic) หรือบ่อย่อยตะกอนที่ต้องการกวนผสมอย่างเดียวในบางเวลาและต้องการออกซิเจนเป็นช่วงๆ ประหยัดเนื้อที่ในการติดตั้ง ไม่จำเป็นต้องมีห้องเก็บเครื่องจักร เสียงไม่รบกวน สามารถเพิ่ม-ลดปริมาณอากาศ ขนาดฟองอากาศ และระยะในการกวนผสมด้วยวาล์วปรับปริมาณอากาศที่อยู่ด้านบนบ่อ มีให้เลือก 18 รุ่น ขนาดตั้งแต่ 1.5 – 30 กิโลวัตต์ ( 2 – 40 แรงม้า) ให้ออกซิเจนละลายน้ำสูงถึง 158 กิโลกรัมออกซิเจนต่อชั่วโมง
- Float Switch – สวิทซ์ลูกลอยไฟฟ้า
(MC, RF series)
สวิทซ์ลูกลอยไฟฟ้า ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องสูบน้ำในบ่อสูบให้สัมพันธ์กันกับระดับน้ำในบ่อผลิตขึ้นจากวัสดุประเภทเรซินที่มีความทนทานต่องานน้ำเสียทั่วไปและน้ำเสียอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ แข็งแรงทนแรงกระแทกได้สูง พร้อมติดตั้งยางกันกระแทก ภายในลูกลอยมีการถ่วงน้ำหนักเพื่อมิให้เกิดการกระเพื่อมขึ้นลงตามจังหวะแรงกระแทกของนำ ทำให้สวิทซ์ภายในลูกลอยทำงานถูกต้องตามระดับน้ำในบ่อ ไม่เกิดการตัดต่อบ่อยครั้งโดยไม่จำเป็นเนื่องจากคลื่นน้ำในบ่อ ซึ่งมีผลถึงระบบตู้ควบคุมไฟฟ้าเครื่องสูบน้ำและเครื่องสูบน้ำไม่ทำงานโดยไม่จำเป็น สวิทซ์ลูกลอยเป็นแบบแรงดันไฟฟ้าต่ำไม่เกิน 30 โวล์ท ซึ่งมีความปลอดภัยต่อการใช้งานแม้ว่าสายไฟเกิดการชำรุดเสียหาย สวิทซ์ลูกลอยและสายไฟฟ้าเป็นแบบที่สามารถเลือกให้เป็นแบบเปิดและปิดได้ในลูกลอยชุดเดียวกัน
- Submersible Scum Skimmer – เครื่องสูบตะกอนลอยผิวน้ำ แบบจุ่มน้ำ
(FSP series)
ในระบบบำบัดน้ำเสียทั่วไป จะพบว่ามีตะกอนลอยเกิดขึ้นเสมอ ทั้งในบ่อดักไขมัน บ่อเติมอากาศ และบ่อตกตะกอน ซึ่งมีผลให้การเดินระบบเกิดความล้มเหลวเนื่องจากมีไขมันมากกว่าไปในระบบ หรือทำให้น้ำทิ้งมีค่าความสกปรกเกินมาตรฐานเนื่องจากตะกอนลอยในถังตกตะกอนหลุดออกมาปนกับน้ำทิ้ง ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาตะกอนลอยดังกล่าว ซูรูมิจึงได้คิดค้นเครื่องสูบตะกอนลอยผิวน้ำ แบบจุ่มน้ำ เพื่อสูบตะกอนลอยดังกล่าวไปยังบ่อหมักหรือถังย่อยตะกอนเพื่อไม่ให้หลุดออกมากับน้ำทิ้ง นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ใช้ในงานกำจัดน้ำมันปิโตรเลียม น้ำมันหล่อลื่นจากผิวน้ำ เพื่อการบำบัดน้ำเสียในขึ้นต่อไป เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและปิโตรเลียม ตลอดจนครัวภัตตาคารทั่วไป
- Submersible Decanter Pump – เครื่องสูบน้ำใสแบบจุ่มน้ำ
(FHP series)
ในระบบบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศเป็นช่วงสลับกับการตะกอน (Sequencing batch aeration activated sludge process, SBR) ถังเติมอากาศและถังตกตะกอนจะถูกออกแบบให้อยู่ในถังเดียวกัน ในชณะที่มีการหยุดเครื่องเติมอากาศ ตะกอนจะค่อยๆ จมตัวลงสู่ด้านล่าง ด้านบนจะเป็นน้ำใส ซูรูมิออกแบบเครื่องสูบน้ำใสแบบจุ่มน้ำ เพื่อใช้งานในระบบดังกล่าว โดยเครื่องสูบน้ำใสจะมีเซ็นเซอร์วัดความใสของน้ำด้านบนคอยควบคุมการทำงานของเครื่องสูบ เมื่อเซ็นเซอร์พบว่าน้ำด้านบนมีความใสเพียงพอต่อการระบายลงสู่แหล่งน้ำ เซ็นเซอร์จะสั่งการให้เครื่องสูบน้ำใสออกจากถังเติมอากาศทันที และเมื่อระดับน้ำลดลงน้ำในระดับถัดลงไปจะยังคงขุ่นอยู่เนื่องจากตะกอนยังจมตัวลงไม่ถึงก้นถัง เซ็นเซอร์ก็จะสั่งให้เครื่องสูบหยุดการทำงานเป็นวัฏจักรเช่นนี้เรื่อยไป ทำให้ไม่จำเป็นต้องคอยเปลี่ยนระดับน้ำในการสูบออกโดยอาศัยพนักงานควบคุมเป็นผู้ตรวจสอบความใสของน้ำก่อนปล่อยน้ำเช่นในอดีตอีกต่อไป โดยเซ็นเซอร์ดังกล่าวสามารถปรับตั้งให้อ่านค่าความใสในช่วงที่กว้าง ทำให้เลือกปรับความใสได้หลายค่าตามความต้องการ นอกจากนี้ระดับยังมีการออกแบบให้สามารถทำความสะอาดหัวเซ็นเซอร์ได้ทุก 4 – 6 ชั่วโมง เพื่อให้เซ็นเซอร์สามารถอ่านค่าได้ถูกต้องตลอดการใช้งาน